วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1

คำถามท้ายบทที่ 1
1. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมรูปประกอบ
ตอบ ประเภทของคอมพิวเตอร์การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ได้แบ่งตามขนาดของระบบ แต่จะแบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่ระบบนำมาประมวลผล ถ้าพิจารณาแล้วข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันโดยทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่อง ( discrete data) และข้อมูลประเภทต่อเนื่อง (continuous data)ข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่องคือ ลักษณะของข้อมูลที่สามารถนับได้เป็นจำนวนทีแน่นอน นั่นคือ จะนับทีละ 1 หน่วยได้ เช่น จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จำนวนรถยนต์ในประเทศไทย ข้อมูลประเภทต่อเนื่อง ได้แก่ ข้อมูลที่ได้มาจากการวัด เช่น ความเร็วของรถยนต์ อุณหภูมิของร่างกายระบบคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่ทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่องซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล ส่วนระบที่ทำงานกับข้อมูลแบบต่อเนื่องเรียกว่า คอมพิวเตอร์แอนะลอก และถ้านำระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลกับแบบแอนะลอกรวมกันเรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ยังสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ และคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจคือ คอมพิวเตอร์ถูกออกแบบและสร้างให้ทำงานเฉพาะอย่างเท่านั้นโดยไม่สามารถนำไปใช้งานชนิดอื่นได้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์ใช้ในการควบคุม เช่นควบคุมระบบการจ่ายและจุดฉีดน้ำมันในรถยนต์ หรือใช้ในระบบนำวิถีของจรวด คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์คือ ระบบที่ได้รับการออกแบบให้ประยุกต์ใช้งานได้อย่างนับไม่ถ้วน คือ ระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา และเมื่อต้องการใช้เครื่องทำงานอะไร ก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งาน ก็สามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ แบ่งตามขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์
มักจะวัดกันตามขนาดความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้งาน (Main Memory) ซึ่งหน่วยวัดความจุอาจอยู่ในเทอมของกิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB) โดย 1 KB จะมีค่า = ไบต์ หรือ 1024 ตัวอักขระ (1 ไบต์ มีค่าเท่ากับ 1 ตัวอักขระ) ดังนั้น ถ้าคอมพิวเตอร์มีความจุ 10 K จะมีความหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักได้ ไบต์ หรือเท่ากับ 10,240 ตัวอักขระนอกจากนี้ขนาดหน่วยความจำยังอาจมีหน่วยวัดอยู่ในเทอมของเมกะไบต์ (Megabyte หรือ MB หรือ M ) โดย1 MB = 1024 KB = 1024 X 1024 =1,048,576 ไบต์ (ตัวอักขระ)หรืออาจอยู่ในเทอมของจิกะไบต์ (Gigabyte หรือ GB) โดย 1 = 1024 MB = 1024 X 1024 X 1024 =1,073,741,824 ไบต์(ตัวอักขระ) เป็นต้น สามารถแบ่งได้ 5 แบบ ดังนี้


1.ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


1. คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วน ประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ



รูปภาพคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

2. แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display :LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

รูปภาพแล็ปทอปคอมพิวเตอร์
3. โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและเบากว่าแล็ปท็อป นำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป






4. ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น เป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก





มินิคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร



เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบ
นำมาจาก
http://yalor.yru.ac.th/~nipon/Archi_STD43/chapter1/group_20/computer.html

2. คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร

ตอบ คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



นำมาจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=za-poy&month=02-2008&date=02&group=5&gblog=22

3. ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูล(data)หมายถึงข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษรหรือสํญลักษณ์ และข้อมูลที่นั้นต้องเป็นข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบันที่สุด เช่น ที่อยู่ ปริมาณ คะแนน เป็นต้น
สารสนเทศ(Information)หมายถึง
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อต่างๆ เช่น ข่าว วิทยุ หนังสือ เป็นต้นและคำว่าสารสนเทศนี้จะมีความหมายหลากหลายตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค
ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกัน ข้อมูลหมายถึงข้อเท็จจริง ที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์ต่างๆ
แต่สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเพื่อไปใช้ในการตัดสินใจต่อไป
เช่น ข้อมูล นักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 มีจำนวน 150 คน
สารสนเทศมีนักเรียนที่มาจากโรงเรียนอื่นๆ 20 คน เป็นนักเรียนเก่า 130 คน
นำมาจาก
http://gotoknow.org/blog/potatoppp/30336

4. VLSI คืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นำมาจาก อ้างอิง http://www.vlsilab.polito.it/graphic/LucentTurboDecoder.jpg
เนื่องจากเวบที่ได้หามาเกิดการค้างไม่สามารถก๊อปไพล์ได้ครับ

5.นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
ตอบ 1. ใช้เพื่อความบันเทิง
2. ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลเช่น อ่านหนังสือพิมพ์
3. ใช้เพื่อศึกษาหาความรู้ในด้านการเรียนเพิ่มขึ้น
4. ใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆๆ

* วันที่สืบค้น วันที่ 25 มิถุนายน 2551 เวลา 20.34 *
* แหล่งที่มามาจาก อินเตอร์เน๊ดเวบต่างๆที่ได้นำมาไว้ใต้ข้อของทุกข้อแล้ว *


ไม่มีความคิดเห็น: